Thursday, 4 April 2024

ไทม์ไลน์ ‘หลอดดูดน้ำ’

04 Mar 2023
271

ปก ไทม์ไลน์ ‘หลอดดูดน้ำ’

เมื่อสืบสาวประวัติศาสตร์การดูดของมนุษยชาติ ก็พบว่าสามารถย้อนไปไกลถึง 3,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยจากการค้นพบโลงศพของชาวสุเมเรียน ที่มีภาพสลักบนโลงเป็นรูปคนกำลังดูดน้ำจากไหผ่านอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายหลอดและเมื่อเปิดโลงศพเพื่อพิสูจน์ก็พบว่ามีอุปกรณ์นี้อยู่จริง โดยเป็นหลอดทำจากทองคำเลี่ยมหินลาพิสลาซูลี นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าชาวสุเมเรียนใช้หลอดเพื่อการดื่มเบียร์ เนื่องจากกรรมวิธีหมักเบียร์ในสมัยโบราณจะมีเศษตะกอนนอนก้นอยู่ข้างล่าง จึงใช้หลอดดูดเฉพาะเครื่องดื่มที่ลอยอยู่ด้านบน

ในขณะอีกฟากฝั่งของโลกก็มีการค้นพบว่า ชาวอาร์เจนไตน์ในอาร์เจนตินาใช้หลอดที่ทำจากไม้มานานกว่าพันปี ก่อนจะพัฒนามาเป็น บอมบิลลา (bombilla) อุปกรณ์ทำจากโลหะที่ทำหน้าที่เป็นหลอดและตัวกรองสำหรับดื่มชาในปัจจุบัน การใช้หลอดดูดน้ำจึงน่าจะเป็นวัฒนธรรมการดื่มกินที่แฝงอยู่ในอีกหลายดินแดนของโลกยุคโบราณ ก่อนจะพัฒนามาเป็นหลอดที่ทำจากก้านไรย์ ซึ่งมีข้อเสียคือ มักมีกลิ่นหญ้าปะปนขณะดื่ม แต่เพื่อแลกกับความสะดวกแล้ว มนุษย์จึงยอม foromarbella จึงพาทุกคนมาดูวิวัฒนาการของหลอด ที่เอาไว้ดูดน้ำกันค่ะ

วิวัฒนาการของหลอดเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในปี 1880 ขณะที่ มาร์วิน เชสเตอร์ สโตน กำลังดูดเครื่องดื่มอย่างเพลิดเพลินในกรุงวอชิงตัน ดีซี จู่ๆ ความสุนทรีย์ก็ชะงักลง เมื่อเขารู้สึกถึงเศษอะไรบางอย่างในปาก เมื่อคายออกมาจึงพบว่าสิ่งนั้นคือ เศษข้าวไรย์ที่หลุดออกมาจากหลอดนั่นเอง

หลอดดูดน้ำหลากสี

สโตนไม่ต้องการเสียอารมณ์ขณะดูดเครื่องดื่มอีกต่อไป เขาจึงทดลองนำกระดาษมาม้วนแล้วใช้กาวติด แต่กาวในสมัยนั้นก็ยังไม่เหมาะต่อการบริโภค ครั้นจะใช้กระดาษเพียวๆ พอดูดไปสักพักหลอดก็เปื่อยยุ่ยง่ายเขาจึงทดลองเคลือบกระดาษด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้กระดาษอยู่ตัว ไม่เปียกน้ำ และใช้ทนกว่ากระดาษติดกาว เมื่อประดิษฐ์หลอดที่ใช้ดูดน้ำได้ลื่นคอเป็นที่เรียบร้อย สโตนจึงจดสิทธิบัตรหลอดกระดาษ Modern Straw

เมื่ออเมริกันชนกลายเป็นผู้นำเทรนด์จิบน้ำด้วยหลอดพลาสติก ทำให้จำนวนผู้ผลิตมีเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้บริโภค โดยเฉพาะเมื่อบริษัท Flex-Straw ขายกิจการให้แก่ยักษ์ใหญ่อย่าง Maryland Cup Corporation ในปี 1969 ความสามารถในการผลิตหลอดพลาสติกก็ยิ่งหลากหลายขึ้น จนกลายเป็นบริษัทผลิตหลอดพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้หลอดพลาสติกปริมาณมหาศาลถูกผลิตออกมาสู่ท้องตลาดแบบ non-stop และที่จริงโปรเจกต์ส้อมหลอดอย่าง Strork ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ หันไปมอง ‘หลอดปลายช้อน’ ที่หลายคนใช้ดูดน้ำปั่นกินอยู่ทุกบ่าย ก็เคยเป็นนวัตกรรมในยุคหนึ่ง ไม่ต่างอะไรกับหลอดแฟนซี หลอดชาไข่มุก และอีกสารพัดหลอดหลายรูปทรงที่ถูกคิดค้นเพื่อความสะดวกและสนุกในการดื่มล้วนๆ

แต่ยิ่งนานวัน ตัวเลขการใช้พลาสติกเพื่อบริโภคก็พุ่งสูงอย่างน่าตกใจ โดยข้อมูลจาก Plastics Europe หนึ่งในผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ของโลกรายงานว่า ในปี 1950 มีการผลิตสินค้าพลาสติกเป็นจำนวน 1.5 ล้านตัน และเมื่อเวลาผ่านไป 65 ปี ยอดผลิตสินค้าพลาสติกเติบโตพรวดพราดเป็น 322 ล้านตัน ในปี 2015 และจากรายงานสรุปข้อมูลขยะชายหาดปี 2016 จาก 112 ประเทศทั่วโลกของ The Ocean Conservancy พบว่าหลอดพลาสติกเป็นขยะที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 7 ในขณะที่ประเทศไทยมีปริมาณขยะจากหลอดพลาสติกถูกพบมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากขวดพลาสติก

เศษหลอด

หลอดพลาสติกจึงตกเป็นหนึ่งในจำเลยข้อหาทำลายสิ่งแวดล้อมทันที ทำให้หลอดกระดาษหวนคืนวงการอีกครั้ง หลังหมดความนิยมไปตั้งแต่กลางยุค 70 สมทบด้วยหลอดที่ทำจากวัสดุทดแทนอีกหลายประเภท ทั้งแบบที่ง่ายแก่การย่อยสลายและแบบที่ใช้ซ้ำได้ เพื่อเป็นตัวเลือกของคนยุคใหม่ที่เกิดมาก็คุ้นเคยกับการคว้าหลอดมาดูดเครื่องดื่มจนยากจะเปลี่ยนใจ

แต่ว่าตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้ทำให้คนทั่วโลกตระหนักถึงภัยซ่อนเร้นของหลอดพลาสติก หากคลิปการช่วยเหลือเต่าทะเลที่มีหลอดติดอยู่ในจมูก ไม่ได้ถูกแชร์จนกลายเป็นไวรัลในปี 2015   ความตายของเต่าทะเลนำมาซึ่งการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์น้อยใหญ่ที่ได้รับการตีแผ่อย่างต่อเนื่อง เช่นตัวเลขที่ระบุว่าทุกวันนี้ประชากรโลกใช้หลอดประมาณ 500 ล้านชิ้นต่อวัน โดยมีการประเมินว่ามนุษย์คนหนึ่งใช้ 1.6 หลอดต่อวัน

สนับสนุนโดย baccaratnine.com