วันนี้ foromarbella จะเล่าถึง เชี่ยนหมากและวัฒนธรรมการกินหมากของไทย กล่าวกันว่าการกินหมากอาจจะเป็นวัฒนธรรมที่ไทยรับมาจากอินเดียมาช้านาน แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน จนถึงสมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่๑๙ จึงมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกว่า ในเมืองสุโขทัยนั้นมีป่าหมากและป่าพลู จึงเป็นไปได้ว่าชาวสุโขทัยนิยมกินหมากกันมากจนถึงกับปลูกต้นหมากและต้นพลูไว้ในเมือง ในปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อย อาจไม่รู้ว่าการกินหมากเป็นอย่างไร? หมาก ( หมาก ชื่อเรียกต้นปาล์มหลายชนิดในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu Linn รสฝาด เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกการกินหมาก ) ใช้เนื้อในของผลหมากสดหรือหมากตากแห้ง ใบพลู ( พลู ชื่อไม้เถาชนิด Piper betal Linn. ในวงศ์ Piperaceae มีรสเผ็ดร้อนใช้กินกับหมากและใช้ทำยาได้ ) มักใช้ใบพลูสดที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป บางทีใช้ใบพลูแห้ง หรือเรียกว่าพลูนาบ (นาบกับกระทะที่ตั้งไฟจนร้อนให้แห้ง)
เชี่ยนหมาก ในภาษาอีสานเรียกได้หลายอย่าง เช่น เชี่ยนหมาก เฆี่ยนหมาก และ ขันหมาก แต่ก็หมายความถึงภาชนะกล่องไม้ที่มีไว้ใส่ชุดหมากพลูเช่นเดียวกัน นิยมทำจากไม้เนื้อแข็งและไม้มงคล จากการศึกษาพบว่า เชี่ยนหมากไม้นี้มีอายุราว 50 – 150 ปี ทำขึ้นเพื่อใส่ชุดหมากพลูต้อนรับแขกผู้มาเยือน ใช้ประดับบ้านเป็นเครื่องแสดงฐานะ นอกจากนั้น ยังใช้ประกอบพิธีกรรมการแต่งงาน ซึ่งจะต้องจัดเชี่ยนหมากไปสู่ขอฝ่ายเจ้าสาวอีกด้วย เชี่ยนหมากอีสานที่มีลักษณะเป็นกล่องไม้นี้มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่พบในภูมิภาคอื่นในประเทศ
ปูนแดง ( ปูนแดง ปูนสุกที่ผสมกับผงขมิ้นและน้ำจะเป็นสีแดง สำหรับป้ายพลูกินหมาก )
การกินหมากอาจจะมีส่วนประกอบอื่นอีกตามความชอบของแต่ละคน เช่น การบูร สีเสียด ยาจืด ด้วยก็ได้ การกินหมากจะต้องป้ายปูนแดงลงบนใบพลูแล้วเคี้ยวไปพร้อมกับหมาก ซึ่งจะมีรสเผ็ดร้อน ผู้กินหมากเคี้ยวไปเรื่อยๆ (คล้ายเคี้ยวหมากฝรั่ง) พร้อมกับบ้วนน้ำหมากทิ้งเมื่อมีน้ำหมากมากเกินไป การกินหมากจะไม่กลืนซากหมากหรือกากหมากที่เคี้ยว แต่ต้องคายทิ้ง เมื่อหมากหมดรสแล้ว
สิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการกินหมากอีกอย่างหนึ่งคือ “เชี่ยนหมาก” เชี่ยนหมาก เป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องกินหมาก มีรูปแบบแตกต่างและทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ไม้ หวาย ย่านลิเพา ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของเข้าของ เพราะนอกจากจะเป็นภาชนะใส่เครื่องกินหมากแล้ว ในสมัยก่อนเชี่ยนหมากยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมหรือเจ้าของอีกด้วย
การกินหมากเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายในสมัยก่อน แม้แต่พระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงในราชสำนักก็ยังกินหมากกันทั่วไป แม้ในสมัยต่อมาจะเลิกกินหมากแล้วก็ตาม เชี่ยนหมาก หรือ “พานพระขันหมาก” ก็ยังเป็นเครื่องประกอบอยู่ในเครื่องราชูปโภคที่ประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ดังที่ พระวงวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ เรื่อง พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตอนหนึ่งว่า “ พานพระขันหมากสำหรับรัชกาลที่ ๑ ทรวดทรงและฝีมืองามยิ่งนัก เป็นฝีมือเอกประเภทเดียวกับ พานพระมหากฐิน และพานพระบายศรี ซึ่งเป็นชิ้นศิลปกรรมในรัชกลที่ ๑ และกล่าวกันว่าพานพระขันหมากนี้ ได้สร้างหุ่นไม้ขึ้นทดลองก่อน แต่เมื่อทรงได้ดีงามพอใจแล้ว จึงได้ลงมือทำด้วยทอง ”
วัฒนธรรมศิวิไลซ์กับคำสั่งห้าม ‘กินหมาก’
แต่การกินหมากมาถูกสั่งให้เลิกอย่างจริงจัง ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่ท่านต้องการปฏิวัติวัฒนธรรม เพราะเห็นว่าการกินหมาก เป็นสิ่งสกปรก เลอะเทอะ ไม่ทันสมัย เชี่ยนหมากจึงไม่ค่อยพบเห็นกันมา ตั้งแต่ในครั้งกระนั้นแล้ว ยิ่งต่อมามี หมากฝรั่ง เข้ามาขาย สามารถเคี้ยวเล่นได้ คนสมัยใหม่ก็ไม่ลองกินหมาก ส่วนคนสูงอายุก็ค่อยๆ ล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ การกินหมากจึงคงจะค่อยๆ สูญหายไปในที่สุด ตัวเชี่ยนหมากจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปเช่นกัน ก็กลายเป็นของสะสมเล่นไปอีกอย่างหนึ่ง พวกที่ทำด้วยโลหะมีค่า ประดิษฐ์อย่างสวยงาม ก็จะมีราคาแพง และหายากมาก แต่ต่างกันคนละแบบ
“เชี่ยนหมาก” เป็นภาชนะสำหรับใส่หมากพลูของ คุณย่า คุณยาย ที่ปัจจุบันหาดูได้ยากมากแล้ว เด็กในปัจจุบันคงไม่มีใครรู้จัก “เชี่ยนหมาก” นอกจากในชนบทห่างไกล ที่ยังมีคุณย่า คุณยาย กินหมากกันอยู่
เชี่ยนหมาก เป็นเสมือนสิ่งที่ใช้ในการต้อนรับแขกประจำบ้านในสมัยก่อน ไม่ว่าแขกไปใครมาเยี่ยมเยียน เจ้าของบ้านก็จะยกเชี่ยนหมากมาต้อนรับ กินหมากกินพลูกันไปคุยกันไป ช่วยสร้างให้บรรยากาศเป็นกันเอง ถือเป็นธรรมเนียมพื้นบ้านของไทยอย่างหนึ่ง ชาวบ้านเรียกเชี่ยนหมากต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น กระทายหมาก ภาคเหนือตอนบน และภาคอีสานเรียก ขันหมาก ถ้าเป็นของใช้ในรั้วในวัง ราชาศัพท์ระดับพระมหากษัตริย์เรียก พานพระศรี ระดับราชวงศ์เรียก พานหมากเสวย
สนับสนุนโดย ufa345vip.com