ในปัจจุบันจะพบว่าอาหารส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่างๆที่ขายอยูทั่วไป มักมีสีสันสดใสสวยงามดึงดูดใจชวนรับประทานเพราะ สีผสมอาหาร แต่คุณรู้บ้างหรือไม่ว่ามันแฝงด้วย อันตราย เนื่องจากผู้ผลิตมักใส่สีสังเคราะห์ทางเคมีลงไป โดยคาดหวังว่าอาหารเครื่องดื่มที่มีอาหารสดใสสวยงาม จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี โดยเฉพาะเด็กๆซึ่งจะช่วยให้ขายดี และได้กำไรมากมาย
ทำให้ผู้ผลิตมองข้ามพิษภัยที่อาจจะเกิดขึ้นไป ดังนั้นวันนี้ foromarbella จะมาแนะนำการเลือกซื้ออาหาร และเครื่องดื่มจำเป็นต้องคำนึงถึงอันตราย ที่อาจเกิดจากสีผสมอาหารให้มากๆ และควรเลือกที่ปลอดภัยให้มากที่สุด เพราะสีผสมอาหารที่สังเคราะห์ทางเคมีซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น
ประเภทของสีผสมอาหาร
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2515 กำหนดสีผสมอาหาร เป็นอาหารที่ควบคุม กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานการใช้ การผสม และฉลากสำหรับสีผสมอาหาร และกำหนดประเภทของสี ที่อนุญาตให้ใช้ผสมอาหาร ซึ่งปลอดภัยแก่ผู้บริโภคมาก ที่สุดด้วยเป็นสีที่มีความบริสุทธิ์สูง และมีวัตถุเจือปนในสีน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3 ประเภท ประกอบไปด้วย
สีอินทรีย์ ที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งเกลืออลูมิเนียม หรือเกลือแคลเซียม ของสีดังกล่าวที่ละลายน้ำได้ ใช้เป็นแม่สี มี 4 สี ได้แก่ สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีน้ำเงิน ซึ่งจะสามารถประกอบหรือผสมกันเป็นสีชนิดอื่นตามต้องการได้ถึง 16 สี คือ
สีอนินทรีย์ ได้แก่ ผงถ่านที่ได้จากการเผาพืช (Charcoal) เช่นสีดำจากผงถ่านที่ได้จากการเผาเปลือกมะพร้าว ใช้ใส่ในขนมเปียกปูนให้มีสีดำ สีดำจากถ่าน (Carbon Black) และติเตเนียม ไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)
สีที่ได้จากธรรมชาติ โดยการสกัดพืช ผัก ผลไม้ และสัตว์ที่ใช้บริโภคได้ โดยไม่เกิดอันตรายและสีดังกล่าวที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สีเขียวจากใบเตย สีดำจากใบยอ สีเหลืองของขมิ้น สีช็อคโกแลต ที่ได้จากการเผาน้ำตาลจนไหม้ หรือน้ำตาลเคี่ยวไหม้ (caramel) หรือสีแดงที่ได้จากครั่ง (Cochineal)
สีผสมอาหารภัยใกล้ตัวที่มากับความสวยงาม
ในปัจจุบันจะพบว่าทั้งอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ขายอยู่ทั่วไป มักมีสีสันสดใสสวยงาม ชวนรับทาน แต่แฝงไว้ด้วยอันตรายเนื่องจากผู้ผลิตมัก ใส่สีสังเคราะห์ทางเคมีลงไปโดยคาดหวังว่า อาหารและเครื่องดื่มที่มีสีสด ใสสวยงามจะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี โดยเฉพาะเด็ก ๆ ซึ่งจะช่วยให้ขายดี ได้กำไรมากทำให้มองข้ามพิษภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นไป ดังนั้นในการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มจำเป็น ต้องคำนึงถึงอันตราย ที่อาจเกิดจากสีผสม อาหารให้มาก ๆ และควรเลือกที่ปลอดภัยให้มากที่สุด
อันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสีสังเคราะห์ทางเคมีซึ่งผู้ผลิตบางคนมักใช้สีย้อมผ้า หรือสีย้อมกระดาษซึ่งมีโลหะหนักพวกตะกั่ว ปรอท สารหนูสังกะสีโครเมี่ยม ปะปนอยู่ซึ่งทําให้เกิดผลต่อร่างกาย ดังนี้
ตะกั่ว : ระยะแรก จะทําให้ร่างกายอ่อนเพลี่ยเบื่ออาหารปวดศีรษะ โลหิตจาง ถ้าสะสมมากขึ้นจะมีอัมพาตที่แขน ขา เพ้อ ชักกระตุก หมดสติ
ปรอท : กรณีเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ท้องเดิน ปวดมวนท้องรุนแรง ถ้าสะสมเรื้อรัง เหงือกจะบวมแดงคล้ำ ฝันตาย เบื่ออาหาร อ่อนเพลี่ย
สารหนู : จะเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทําให้ผิดปกติตับอักเสบ หัวใจวาย
โครเมี่ยม : ถ้าสะสมในร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการเวียนศีรษะ กระหายน้ํารุนแรงอาเจียน หมดสติและเสียชีวิต เนื่องจากไตไม่ทํางาน ปัสสาวะเป็นพิษ
อันตรายจากสีผสมอาหาร
ด้านผู้บริโภค
– เลือกซื้ออาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่ใส่สี ถ้ามีสีควรเป็นสีอื่นอ่อน ๆ หรือ สีธรรมชาติ
– ถ้าซื้อขนม อาหาร หรือเครื่องดื่มใส่สีที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท ต้องมีเลขทะเบียนตำรับอาหาร หรือ เลขที่อนุญาตฉลากอาหาร บริโภคอาหาร และเครื่องดื่มไม่ใส่สีเป็นผลดีต่อสุขภาพ
สนับสนุนโดย sbo8.vip