ยุคเริ่มต้น ในการเสพสิ่งบันเทิงเริ่มต้นจากการรับฟังเสียง ผ่านเครื่องรับวิทยุ หรือ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เท่านั้น ทำให้สมัยก่อนการเสพสิ่งบันเทิงต้องใช้จินตนาการค่อนข้างสูง ยุคต่อมา เป็นยุคที่ความบันเทิงมีทั้งภาพ และเสียง เราสามารถรับชมภาพ และรับฟังเสียงผ่าน เครื่องรับโทรทัศน์ได้ในยุคนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของยุคโทรทัศน์ และยุคนี้เรียกว่า “ยุคโทรทัศน์ขาวดำ” foromarbella จะพามาดูวิวัฒนาการของโทรทัศน์กันว่าพัฒนาอย่างไร…
การส่งภาพ และเสียงผ่านโทรทัศน์ในยุคเริ่มต้นนั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความคมชัดเท่าที่ควร อย่าว่าแต่ความคมชัดเลย แค่ภาพนั้นยังไม่มีสีสันอะไร เป็นเพียงภาพขาวดำที่มีเสียงประกอบเท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่าภาพขาวดำเท่านี้ก็ดีกว่าฟังเสียงอย่างเดียวหลายสิบเท่าแล้ว
ในเวลาต่อมาไม่นานระบบโทรทัศน์ก็เริ่มวิวัฒนาการไปอีกขั้น คือ เริ่มมีสีสันเข้ามาทำให้ได้ความรู้สึกและจินตนาการหรืออารมณ์ร่วมไปกับสื่อที่เสพมากขึ้น เราเรียกยุคโทรทัศน์นี้ว่า “ยุคโทรทัศน์สี” แต่ด้วยการส่งในยุคเริ่มต้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นยุคโทรทัศน์ขาวดำหรือโทรทัศน์สี เป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบ “อะนาล็อค” การส่งแบบ อะนาล็อคนี้ มีความอ่อนไหวต่อสัญญาณรบกวนสูง ทั้งการรบกวนที่เกิดจากระบบส่งของตัวเอง หรือการรบกวนที่เกิดจากสัญญาณภายนอกเข้ามารบกวน ทำให้ภาพไม่ชัด ภาพเป็นลายเส้น เกิดภาพเงาซ้อน เสียงจากวิทยุเข้ามาแทรกในโทรทัศน์ มีแถบบาร์วิ่งอยู่บนหน้าจอ อาการแบบนี้เกิดให้เห็นกันอยู่ตลอด สำหรับท่านที่ทัน ยุคอะนาล็อค จะทราบว่า นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเกิดจนรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดาของการรับชมภาพและเสียงจากโทรทัศน์ที่ส่งแบบ “อะนาล็อค” นอกจากอาการสัญญาณรบกวนแล้วยังพบว่าความแรงของสัญญาณที่พอเหมาะเท่านั้นจึงจะทำให้รับชมภาพได้อย่างคมชัด (ระดับความแรงของสัญญาณที่พอเหมาะคือ 60-75 dBuV) การออกแบบระบบที่ไม่ถูกต้อง ระดับสัญญาณแตกต่างกัน เป็นสาเหตุให้จุดรับชมที่อยู่ไกลจากเครื่องส่ง ภาพจะเป็นเม็ดสโนว์ ภาพหยาบ เต็มหน้าจอไปหมด ในส่วนจุดรับชมที่อยู่ใกล้มากๆ สัญญาณแรงเกินไป จะเกิดอาการภาพเป็นลายเส้นแนวนอน หรือเป็นบาร์วิ่งจากซ้ายไปขวา ดังนั้นในการออกแบบโครงข่ายจำเป็นต้องใช้ ผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ เพื่อให้ระดับมีระสัญญาณที่เหมาะสมทุกจุด เพื่อให้ระดับสัญญาณเหมาะสมทุกจุด ทำให้ได้ภาพ และเสียงที่หน้าจอโทรทัศน์นั้นมีความคมชัดเหมือนกัน
ความคมชัดของสัญญาณภาพรูปแบบนี้เราเรียกว่า “ความคมชัดแบบอะนาล็อค” การส่งภาพและเสียงในระบบอะนาล็อคนั้นสามารถส่งภาพ และเสียงความคมชัดได้ใกล้เคียงระดับ Standard Definition (SD) เท่านั้น อย่างไรก็ตามยุคนั้นความคมชัดแบบอะนาล็อค ก็ตอบโจทย์มากแล้ว แต่อย่างที่ทราบไปแล้วว่ายากมากที่จะออกแบบให้ระบบส่งโทรทัศน์แบบอะนาล็อค มีความคมชัดทุกจุดรับชม และทุกช่องรายการได้
ยุคที่สอง เมื่อผู้คนส่วนใหญ่เลือกเสพสื่อบันเทิงผ่านเครื่องรับโทรทัศน์ ในยุคนี้ทุกบ้านมีโทรทัศน์อย่างน้อย 1 เครื่อง ทำให้หลายบริษัทสนใจที่จะเข้ามาทำธุรกิจในด้านนี้ จึงมีแข่งขันกัน คิดค้น พัฒนา ระบบส่งโทรทัศน์จากระบบเดิมที่เป็นการส่งแบบอะนาล็อค ที่มีจุดอ่อนอยู่หลายอย่าง ตามที่ได้ให้ข้อมูลไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น ให้เป็นระบบใหม่ที่แก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวทั้งหมด ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นคือระบบส่งโทรทัศน์แบบดิจิตอลเราเรียกว่า “ยุคโทรทัศน์ดิจิตอล” (Digital TV)
ยุคที่สาม เมื่อการรับชมโทรทัศน์ คือ การรับชมภาพและเสียงที่มีความคมชัด และต้องการเลือกรับชมช่องรายการได้ครั้งละจำนวนมากๆ ซึ่งระบบส่งโทรทัศน์แบบดิจิตอลได้ตอบโจทย์เป็นอย่างดีแล้ว เหตุไฉนจึงต้องมีการพัฒนาระบบส่งโทรทัศน์อีก คำตอบ คือ ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีวันสิ้นสุด ระบบส่งโทรทัศน์ไม่ได้เป็นเพียงระบบส่งโทรทัศน์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เฉกเช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ ที่ไม่ได้มีไว้โทรเข้าโทรออกเพียงอย่างเดียว ระบบส่งโทรทัศน์ในยุคที่สามนี้มีความสามารถหลากหลาย แต่กล่าวโดยสรุปให้เข้าใจโดยง่าย คือ มีความสามารถส่งช่องรายการได้มากกว่าระบบส่งโทรทัศน์ดิจิตอลหลายเท่า มีความคมชัดเท่ากันทุกจุด ทนทานต่อสัญญาณรบกวนสูงเหมือนๆ กัน
โทรทัศน์ยุคที่สามแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับ โทรทัศน์แบบดิจิตอลในยุคที่สอง คือ ระบบส่งโทรทัศน์ในยุคที่สามนี้ สามารถทำให้โทรทัศน์เป็นมากกว่าโทรทัศน์ สามารถใส่สื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น ต่างๆ เข้าไปในระบบส่งโทรทัศน์ได้ สามารถใส่ข้อมูลสินค้าและบริการได้ สามารถสั่งซื้อสินค้า และบริการต่างๆ ผ่านทางระบบส่งโทรทัศน์ได้เลย สามารถสั่งอาหารได้ สามารถซื้อภาพยนตร์ดูได้ จะเห็นได้ว่าระบบส่งโทรทัศน์ในยุคที่สามนี้เริ่มทำให้โทรทัศน์เครื่องหนึ่ง กลายเป็น ป้ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ป้ายโปรโมชั่น ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ฯลฯ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นทุกอย่างที่ต้องการให้เป็น และระบบส่งโทรทัศน์ในยุคที่สามที่เราพูดถึงนั้นก็คือ ระบบส่งโทรทัศน์ที่เรียกว่า “ระบบไอพีทีวี” นั่นเอง
สนับสนุนโดย 123faz.pro