สมุนไพรจีน (Chinese Herbal Medicine) ส่วนใหญ่จะมาจากพืช (ราก ลำต้น ใบ ผล) ส่วนประกอบของสัตว์และแร่ธาตุ เนื่องจากสมุนไพรจีนส่วนใหญ่มาจากพืช จึงเรียกว่า ยาสมุนไพรจีน จากการวิจัยเป็นเวลาหลายพันปีพบว่ามียาแผนจีนประมาณกว่า 5,000 ชนิด และเป็นที่มาของตำรับยามากมายที่เกิดจากการผสมผสานยาต่างๆ เข้าด้วยกัน
ทฤษฎีการแพทย์แผนจีนได้แบ่งลักษณะเฉพาะของยาสมุนไพรจีนว่า มีสี่ฤทธิ์และห้ารสชาติ สี่ฤทธิ์ หมายถึง ลักษณะธรรมชาติทั้งสี่ของยา คือเย็น / ร้อน / อบอุ่น และเย็น ห้ารสชาติ หมายถึง ความเผ็ด / ความเปรี้ยว / ความหวาน / ความขม และความเค็มของยา ยาสมุนไพรจีนมีฤทธิ์และรสชาติที่แตกต่างกัน ผลการรักษาจึงแตกต่างกันด้วย แพทย์ผู้ทำการรักษาจะรักษาโรคตามลักษณะของยา เช่นยาแก้ไข้ยาแก้หวัดเป็นต้น การใช้ยาสมุนไพรจีนจะแตกต่างกันไปตามสภาวะของผู้ป่วยที่แตกต่างกันแต่ละคนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของยาสมุนไพรจีน
การใช้ยาสมุนไพรจีน เกิดจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์การรักษาโรคจริงมานับพันๆ ปี และมีผลข้างเคียงน้อย ที่สำคัญการใช้ยาสมุนไพรจีนจะใช้ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงจะได้ผลการรักษาที่ดี ร่างกายของทุกคนมีความแตกต่างกัน กล่าวคือยาสมุนไพรจีนบางชนิดจึงได้ผลกับคนบางกลุ่มอาการ แต่คนอีกกลุ่มอาจไม่ได้ผล ฉะนั้นจึงต้องใช้ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากเรานำมารับประทานเอง จากประโยชน์จะกลายเป็นโทษโดยไม่รู้ตัว
การรักษาด้วยยาจีน คือ การนำสมุนไพรซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรจีนจากประเทศจีนมาปรุงเป็นยารักษาโรค โดยสกัดเอาส่วนผสมที่มีสรรพคุณในการบำบัดอาการที่ต้องการรักษาออกมาจากสมุนไพรชนิดต่างๆที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แล้วนำมาผสมกัน ใช้ชงดื่มเป็นยาต้ม หรือ ยาผง ยาเม็ด ยาจีนบางตำรับประกอบด้วยสมุนไพรกว่า 10 ชนิด
จุดเด่นของยาจีน คือ ผู้ที่ป่วยโรคเดียวกัน หรือ มีอาการเหมือนกัน อาจได้รับการจ่ายยาต่างตำรับกัน ทั้งนี้ เพราะแพทย์จีนผู้ทำการรักษาจะวิเคราะห์สภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อระบุกลุ่มอาการของโรคตามสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยก่อน
จากนั้นจะเลือกวิธีบำบัดรักษาที่เหมาะสม และเมื่อติดตามอาการดูแล้วเห็นว่าดีขึ้น หรือ ไม่ดีขึ้น แพทย์จีนที่ทำการรักษาจะปรับเปลี่ยนยาตำรับใหม่ให้ตามความเหมาะสมกับอาการในช่วงเวลานั้นๆด้วย
ยาจีนเป็นวิธีบำบัดโรควิธีหลักสำคัญของการแพทย์แผนจีน การที่จะใช้ยาจีนบำบัดรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น แพทย์จีนจะต้องรู้ลักษณะโครงสร้างของโรคอย่างถ่องแท้ จึงจะจัดตำรับยาจีนที่เหมาะสมกับอาการของโรคและภาวะร่างกายของผู้ป่วยเป็นคนๆไป แม้ว่าคนป่วยจะมีอาการเหมือนกัน แต่ยาจีนจะแสดงผลต่างกันไปในแต่ละคน
หลักสำคัญในการเลือกตำรับยาจีนให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน คือการวินิจฉัย วิเคราะห์ว่าอาการป่วยนั้นเกิดจากสาเหตุพยาธิสภาพภายนอกของโรคที่แสดงปฏิกิริยารุนแรง หรือ เกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งพร่อง ถดถอย
สมุนไพรจีนแต่ละชนิดที่ผสมอยู่ในยาจีนนั้นมีบทบาทแตกต่างกันออกไป ในยา 1 ตำรับจะประกอบด้วย
– สมุนไพรที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลัก
– สมุนไพรที่เป็นตัวประกอบ
– สมุนไพรที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของระบบในร่างกาย
– สมุนไพรที่เป็นตัวยาเสริม ทำหน้าที่ปรับสมดุล
foromarbella มีสมุนไพรจีนสำหรับขจัดพิษหรือล้างพิษของจีนนั้น ก็มีสรรพคุณรักษาตั้งแต่พิษน้อยๆ อย่างพิษร้อน พิษเย็น ไปจนถึงสมุนไพรที่ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิต หัวใจ เบาหวาน ฯลฯ
สำหรับพิษร้อนเช่น ร้อนใน เป็นไข้ ไอ มีเสมหะ มีสมุนไพรที่รู้จักกันดีหลายตัว ที่นิยมใช้กันได้แก่ ดอกเก็กฮวย,หล่อฮั้งก้วย,ซัวเซียม,เหง็กเต็ก และชะเอม(กำเช่า)
‘ดอกเก็กฮวย’นั้น ทั้งคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนมักนิยมนำมาทำชา มีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับลม รักษาอาการปากแห้ง ร้อนใน นัยน์ตาแห้ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิดรวมทั้ง สามารถปรับสมดุลและลดความดันโลหิตในร่างกาย
‘หล่อฮั้งก้วย’ มีลักษณะเป็นลูกกลม ชนิดผลใหญ่ ผลกลม เนื้อแน่น เขย่าไม่มีเสียง เปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล จะถือว่ามีคุณภาพดี มีรสหวานเป็นพิเศษ มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณทางยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับเสมหะ อีกทั้งยังรักษาโรคไอกรน ท้องผูก โรคหลอดลมอักเสบ หืด หอบ ได้อีกด้วย
‘ซัวเซียม’ หรือ ปักซัวเซียม มีรสหวานอมขมเล็กน้อย มีฤทธิ์เย็นเล็กน้อย สรรพคุณรักษาอาการไอ ไอเป็นเลือด เจ็บคอ กระหายน้ำ บำรุงกระเพาะอาหาร (ห้ามผู้มีอาการไอเพราะความเย็นรับประทาน)
‘เหง็กเต็ก’ หรือไผ่หยก มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุก มีใบคล้ายใบไผ่ ปลูกมากที่เหอหนาน เจียงซู เหลียวหนิง และซินซาว มณฑลเจ้อเจียงที่ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุด สรรพคุณลดความดันโลหิต กระตุ้นหัวใจ ดับร้อนใน และขับปัสสาวะ เป็นต้น
สนับสนุนโดย fun88s.club