Thursday, 12 December 2024

นอนกรน ส่งผลเสียอะไร ?

15 Feb 2023
333

ปก-นอนกรน-ส่งผลเสียอะไร

อาการนอนกรนเกิดจาก การที่ช่องทางเดินหายใจส่วนต้นของเรา เกิดการตีบแคบลง ทำให้ลมหายใจที่ผ่านเข้ามาผ่านช่องที่แคบนี้ เกิดการกระพือ และกลายเป็นเสียงกรนขึ้น โดยปกติตามธรรมชาติ คนเราเมื่อนอนหลับ กล้ามเนื้อต่างๆ จะมีการหย่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอวัยวะในช่องทางเดินหายใจของเรา เช่น เพดานอ่อน หรือโคนลิ้น ก็จะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงได้ โดยเฉพาะเวลาที่เรานอนหงาย ทีนี้ พอช่องทางเดินหายใจมันแคบลง เวลาเราหายใจเอาอากาศเข้ามา ลมที่ผ่านช่องที่แคบนี้ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเกิดการกระพือ (คล้ายๆ กับเวลาที่ลมเป่าลมผ่านหลอดเล็กๆ นั่นแหละ) เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการกระพือ หรือสั่นสะเทือน ก็จะเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น และนี่ก็คือสาเหตุของการนอนกรนนั่นเอง

การกรน เกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ กล่าวคือในขณะที่คนเรานอนหลับสนิทนั้น กล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องปากจะผ่อนคลายและหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และเนื่องจากช่องลมถูกปิดกั้นจนเล็กลงจึงทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น

การนอนกรนเพียงอย่างเดียวอาจส่งผลต่อสุขภาพไม่มากนัก แต่เนื่องจากการนอนกรนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติของการหายใจ คือมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ การนอนกรนจึงทำให้คุณภาพการนอนไม่ดี การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง และกลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย สุขภาพจิตเสีย สมาธิและความจำไม่ดี การเผาผลาญอาหารของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดโรคอ้วนและเบาหวานได้

 

นอกจากนี้ foromarbella อันตรายที่เกิดจากการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับยังรวมไปถึงการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับสมองและหลอดเลือดหัวใจ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคของหลอดเลือดสมอง และยังอาจทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงส่งผลให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้

อาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ได้แก่

– น้ำหนักเกิน พบว่าผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ

– มีอาการของโรคภูมิแพ้บริเวณจมูก

– มีสันจมูกเบี้ยวหรือคด รูปหน้าหรือคางผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางหลุบ

– ต่อมทอนซิลโตขวางทางเดินหายใจ

– ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ

– การรับประทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด

-ผู้ชายมีโอกาสนอนกรนมากกว่าผู้หญิง 6-10 เท่า

-ผู้หญิงจะมีอาการนอนกรนเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือน

วิธีรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

วิธีทำให้หายกรนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์รักษาการนอนกรน สามารถทำได้ดังนี้

– ปรับเปลี่ยนท่านอน: การนอนหงายเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนอนกรนมากขึ้น เนื่องจากเพิ่มโอกาสที่กล้ามเนื้อภายในช่องปากหย่อนคล้อยจนปิดกั้นทางเดินหายใจ ท่านอนที่แนะนำคือ ท่าตะแคง

– ลดความอ้วน: เหตุผลที่คนอ้วนมีโอกาสเกิดอาการนอนกรนมากกว่าคนผอมเพราะ ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณช่องคอมีความหนาตัวขึ้น จึงค่อยๆปิดกั้นทางเดินหายใจ อากาศที่ผ่านได้บางส่วนทำให้อวัยวะภายในเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงกรนออกมาในที่สุด

– งดดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน: เป็นการเพิ่มความเสี่ยงการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ ซึ่งนำไปสู่ภาวะนอนกรนในที่สุด

– หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน: เป็นเพราะการสูบบุหรี่ทำให้เนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบนมีอาการบวมหรือเกิดอาการคัดจมูก ส่งผลให้หายใจติดขัดนำไปสู่อาการกรนในที่สุด

– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนล้า และเกิดภาวะการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอโดยไม่รู้ตัว จึงเป็นที่มาของโรคนอนกรน

– หลีกเลี่ยงยาบางชนิด: เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และยาแก้แพ้ชนิดง่วง เป็นต้น เพราะเสี่ยงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนตัวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการนอนกรนตามมา

– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: เพื่อช่วยเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย และลดการอุดกั้นในทางเดินหายใจ

สนับสนุนโดย ufawallet.vip