Wednesday, 24 April 2024

เรื่องราวของเต้าหู้

06 Feb 2023
260

ปก เรื่องราวของเต้าหู้

เต้าหู้ องค์ประกอบสุดฮิตในอาหารของคนไทย ไม่ว่าจะทำแกงจืด พะโล้ หรือ เอามาผัด ก็แสนอร่อย แถมยังให้โปรตีนสูง ทานแล้วดีต่อสุขภาพ แต่เคยสังเกตกันหรือไม่ ว่าเต้าหู้ที่เราเห็นกันในแต่ละเมนูนั้น ทำไมไม่เหมือนกัน บางอันนิ่ม บางอันแข็ง และจริง ๆ แล้ว มีกี่ชนิด แต่ละชนิดเหมาะกับการทำอาหารอะไรบ้าง

วันนี้ foromarbella พร้อมแนะนำว่า ในท้องตลาด เขานิยมใช้เต้าหู้ชนิดไหนมาทำอาหารกันบ้าง หากพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย

เต้าหู้ ถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อ 2,100 ปีก่อน โดย หลิวอัน พระราชนัดดาของจักพรรดิ์ฮั่นเกาจู่ (หลิวปัง) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น ต้องการถวายพระกระยาหารแบบอ่อน แก่พระมารดาที่กำลังประชวรหนัก จนไม่มีแรงเคี้ยวอาหาร จึงได้สั่งให้พ่อครัวบดถั่วเหลืองเป็นผงแล้วนำไปต้มเป็นน้ำซุป แล้วเติมเกลือเพื่อปรุงรสไม่ให้จืดเกินไป ผลปรากฏว่า ซุปถั่วเหลืองนั้นค่อย ๆ จับตัวข้นเป็นก้อนสีขาวนุ่ม ๆ ซึ่งเมื่อพระมารดาเสวยแล้วก็ชื่นชอบเป็นอย่างมาก ไม่นานหลังจากนั้น สูตรการทำเต้าหู้นี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศ และเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา

ในสมัยโบราณ เต้าหู้ ยังเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นอีกด้วย โดยเริ่มเป็นที่รู้จักในสมัยนารา เมื่อ เคนโตะ พระญี่ปุ่นนำวิธีการทำเต้าหู้ มาเผยแพร่หลังจากกลับมาจากการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศจีน โดยในช่วงแรกยังเป็นอาหารที่รับประทานกัน แค่ในหมู่พระญี่ปุ่น ถัดมาอีก 100 ปี จึงได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในเมนูของชนชั้นขุนนางและซามูไร ก่อนที่จะแพร่หลายไปถึงประชาชน ในสมัยเอโดะ

วิธีการเตรียมอาหารจีนและญี่ปุ่นต่างกัน คือ คนจีนพยายามดัดแปลงเต้าหู้ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่น อาจเปลี่ยนรูปทรงหรือรสชาติไป ในขณะที่คนญี่ปุ่นกลับพยายามรักษาความเรียบง่ายรวมทั้งรสชาติ รูปทรงและสีสันของเต้าหู้ให้คงไว้อย่างเดิมให้มากที่สุด พร้อมกับเสิร์ฟในจานหรือถ้วยที่สวยงามจนถือว่าเป็นศิลปะขั้นสูงแขนงหนึ่ง เต้าหู้แบบญี่ปุ่น จึงมักยังคงมีลักษณะแบบสีขาว แต่มีการดัดแปลง ผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ ลงไปบ้าง ในขณะที่เต้าหู้แบบจีน มีรูปแบบหลากหลายมากกว่า กลายเป็นเต้าหู้แบบที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

เต้าหู้ขาว

เต้าหู้มีกี่ประเภท

  1. เต้าหู้ขาว เป็นเต้าหู้ชนิดที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ตามเมนูอาหารอย่าง พะโล้ ผัดผัก หรือ แกงจืด ทำมาจากเอาส่วนที่ตกตะกอนจากการต้มน้ำนมถั่วเหลือง นำมาอยู่ในแม่พิมพ์ แล้วรีดน้ำออก หากรีดน้ำออกมาก จนเหลือแต่เนื้อเต้าหู้ จะเรียกว่า เต้าหู้ขาวแบบแข็ง เนื้อสัมผัสจะแน่น มีรสค่อนข้างจืด ส่วนมากจะเหมาะกับการนำไปเป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารอย่าง พะโล้ ผัดผัก แกงจืด ฯลฯ
  2. เต้าหู้เหลือง เชื่อว่าหลาย ๆ คน อาจจะไม่ชอบกินเต้าหู้ชนิดนี้เท่าใด แต่ก็มักเจอเป็นส่วนประกอบอาหารสำคัญเช่น หมี่กรอบ , ผัดไทย , ก๋วยเตี๋ยวหลอด ฯ โดยที่มีสีเหลืองนั้นก็เป็นเพราะใส่สีจากขมิ้นลงไปนั่นเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มกลิ่น เพิ่มรสชาติ รวมถึงช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาให้นานกว่าเต้าหู้ชนิดอื่น โดยเนื้อด้านในจะมีสีขาวนวล รสชาติออกเค็มกว่าเต้าหู้ขาว มีทั้งแบบแข็งและแบบนิ่ม โดยเต้าหู้เหลืองแบบแข็ง จะนิยมใส่ในผัดไทย ผัดถั่วงอก ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือใช้แทนเนื้อสัตว์ในอาหารเจชนิดต่าง ๆ ส่วนเต้าหู้เหลืองนิ่มนั้น จะนิยมนำไปทอดกรอบกินกับน้ำจิ้มรสเปรี้ยวหวาน หรือผัดกับกุยช่ายขาวหรือถั่วงอก
  3. เต้าหู้ทอด เป็นอีกหนึ่งเต้าหูยอดนิยมของคนไทย สำหรับเต้าหู้ทอด ด้วยรสชาติที่กรุบกรอบ แถมยังนำมาทำอาหารง่าย เลยมีให้เห็นในอาหารหลากหลายประเภท เช่น ก๋วยเตี๋ยว พะโล้ ฯลฯ โดยมีหลายแบบไม่ว่าเป็นเต้าหู้ทอดธรรมดา จะมีลักษณะเป็นเต้าหู้ที่หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมคล้ายลูกเต๋า แล้วนำไปทอดจนได้ที่ ด้วยเอามาวางขายมาในลักษณะร้อยเชือกเป็นพวง จึงเรียกอีกอย่างว่า เต้าหู้พวง นิยมใช้ใส่ในก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ,พะโล้ ,ต้มจับฉ่าย หรือก๋วยเตี๋ยวแคะ

น้ำเต้าหู้

  1. เต้าหู้หลอดถือเป็นเต้าหู้สุดฮิตของคนไทย โดยเฉพาะสายแกงจืด สายชาบู เพราะหาซื้อไม่ยาก ทำอาหารก็ยิ่งง่าย เนื้อสัมผัสก็อ่อน กินได้ทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่ โดยรู้หรือไม่ว่า เต้าหู้หลอด นั้น มีถึง 2 ชนิดด้วยกันคือ ชนิดที่ทำมาจากถั่วเหลืองล้วนและชนิดที่ทำมาจากไข่ไก่หรือมีไข่ไก่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ในหลอดสุญญากาศ ทำให้มีอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าเต้าหู้อ่อนแบบทั่วไป
  2. เต้าฮวยเป็นเต้าหู้ที่นิยมทานเป็นของว่างหรือของหวาน ทำจากน้ำเต้าหู้ผสมกับแป้งข้าวโพด พักไว้สักพัก เนื้อสัมผัสจะนิ่ม มีลักษณะเป็นก้อนพอจับตัวได้ แต่ไม่เท่าเต้าหู้แบบอ่อน นิยมกินคู่กับน้ำขิง และปาท่องโก๋เล็ก ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำผึ้ง เพื่อเพิ่มรสชาติได้ตามชอบ
  3. เต้าหู้หมักหรือที่เรียกกันว่า เต้าหู้ยี้ เกิดจากการนำเต้าหู้มาตัดเป็นสี่เหลี่ยม แล้วนำไปหมักในขวดโหล ใส่เกลือ แล้วปรุงรสด้วยวัตถุดิบต่าง ๆ เช่น ไวน์ พริก เต้าเจี้ยว ฯ เพื่อให้ได้รสชาติที่แตกต่างกันไป ด้วยความที่มีกลิ่นเหม็น จนใคร ๆ ต่างก็ร้องยี้ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่นิยมรับประทานกันเท่าไหร่นัก แต่ก็เป็นตัวช่วยชูรสชาติของอาหารได้ดีอย่างหนึ่ง นิยมใช้ในอาหารจีน

สนับสนุนโดย ufabet888m.com