Thursday, 11 April 2024

ชากังราว อยู่ที่ไหน แล้ว..เฉาก๊วยทำไมต้องชากังราว

29 Apr 2023
279

ปก ชากังราว อยู่ที่ไหน แล้ว..เฉาก๊วยทำไมต้องชากังราว

foromarbella พามาทำความรู้จัก ชากังราว ว่าที่จริงแล้วอยู่ที่ไหน ? แล้ว เฉาก๊วยทำไมต้องชากังราว เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง “ชากังราว” ตั้งอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร เช่นเดียวกับอีกหลายเมือง ได้แก่ เมืองแปบ เทพนคร ไตรตรึงษ์ เมืองพาน คนที นครชุม พังคา โกสัมพี เมืองรอ แสนดอ พงซังซา และบ้านคลองเมือง ซึ่งแสดงว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองโบราณก่อนสมัยประวัติ ศาสตร์ไทยจะเริ่มขึ้น

สำหรับ ชากังราว เป็นภาษามอญ ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์จังหวัดกำแพงเพชรตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นการรวมกันเข้าของคำ 3 คำ คือ “ชา” มาจากศัพท์ กฺยา (ออกเสียงคล้าย ชา) แปลว่าตลาด “กัง” มาจากศัพท์ กัง แปลว่ากังสดาน หรือด่าน (มอญใช้กังสดาลตีบอกเวลา หรือส่งสัญญาณ) ส่วน “ราว” อาจใช้ในความหมายทำนองเป็นสร้อยคำ ดังนั้นถ้าจะแปลคำ “ชากังราว” เป็นภาษามอญทั้งหมดก็น่าจะแปลว่า “ตลาดหน้าด่าน”

เมืองชากังราว

ชากังราว ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง มีเมืองอยู่ฝั่งตรงข้ามคือเมืองนครชุม (สันนิษฐานว่าชากังราวคือเมืองกำแพงเพชร) ต่อมาได้รวมเรียกสองเมืองเป็นกำแพงเพชร หลักฐานที่กล่าวถึงเมืองชากังราวแรกสุดปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 8 (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ พ.ศ.1902-1912) ระบุเหตุการณ์พระมหาธรรมราชาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช ครองราชย์ พ.ศ.1897-1919) นำชาวเมืองต่างๆ ไปนมัสการพระพุทธบาทเขาสุมนกูฏ มีชื่อเมืองชากังราวและนครชุมอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าเมืองชากังราวคงมีบทบาทสูงมากขึ้นจนทัดเทียมกับเมืองนครชุมแล้ว ก่อนจะมีบทบาทสูงและเป็นศูนย์กลางในแถบนี้แทนเมืองนครชุม

ในฐานะเมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงปลาย เมืองชากังราวมีบทบาทสูงมากในการสกัดทัพกรุงศรีอยุธยาที่ขยายอำนาจขึ้นมา โดยพระบรมราชาธิราช 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ต้องทรงยกทัพหลวงขึ้นไปตีเมืองชากังราวถึง 3 ครั้ง ใน พ.ศ.1916 พ.ศ.1919 และ พ.ศ.1921 จึงสามารถยกทัพเข้าเมืองได้ แต่ถึง พ.ศ.1931 ชากังราวก็ประกาศแข็งเมือง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต้องทรงยกทัพไปอีก แต่สวรรคตเสียกลางทาง มีผู้สันนิษฐานว่า การทำสงครามกับฝ่ายอยุธยาซึ่งยืนยันว่าเมืองชากังราวต้องเป็นเมืองที่มั่นคงแข็งแรงยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตี และคงจะมีป้อมกำแพงที่แข็งแรงมาก นำสู่การขนานนามเมืองชากังราวขึ้นใหม่ ว่า “กำแพงเพชร” และเรียกชื่อแทนชากังราวในที่สุด

หลังประกาศไม่ขึ้นกับอยุธยา ชากังราวกลับไปขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัยอีก ดังความปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 46 (จารึกวัดตาเถรขึงหนัง) กล่าวถึงการนิมนต์พระสงฆ์ไปสร้างวัดที่สุโขทัย ชื่อวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม แต่ในศิลาจารึกดังกล่าวเรียกชื่อเมืองว่า “เพชรบุรีศรีกำแพงเพชร” ซึ่งอยู่ในราว พ.ศ.1943-1947 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาคงเรียกชื่อเมืองชากังราวจนมาเปลี่ยนเรียกเป็นกำแพงเพชรหลังขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาอย่างสมบูรณ์ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ โดยยังคงเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ บทบาทปรากฏเสมอในการสกัดทัพล้านนาและพม่า ล่วงเข้าสมัยธนบุรี ก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่าน แต่สภาพทรุดโทรมมาก ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นหัวเมืองขึ้นต่อกรุงเทพมหานคร จวบจนรัชกาลที่ 5 ทรงให้จัดการปกครองเทศาภิบาลเป็นมณฑล เมืองกำแพงเพชรขึ้นกับนครสวรรค์

เฉาก๊วยชากังราว

กระทั่ง พ.ศ.2459 เปลี่ยนเป็นจังหวัดกำแพงเพชรแต่ยังขึ้นอยู่กับมณฑลนครสวรรค์เรื่อยมาถึงสมัยยกเลิกมณฑลเทศาภิบาล พ.ศ.2476 กำแพงเพชรจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศตามระเบียบการปกครองนับแต่นั้น

ส่วนเฉาก๊วยชากังราวที่เราคุ้นหูและคุ้นปาก  กันนั้น เป็นยี่ห้อของเฉาก๊วยซึ่งคำว่า ชากังราว เป็นหนึ่งในชื่อเมืองกำแพงเพชรในอดีต จึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อบริษัทของอดีตข้าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ที่ใช้เฉาก๊วยถึง 3 สายพันธุ์ คือต้นเฉาก๊วยจากจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่ดึงคุณลักษณะเด่นๆ ออกมาจนได้เฉาก๊วยชากังราว

ความพิเศษของเฉาก๊วยชากังราว กว่าจะได้ออกมาเป็นอาหารดับร้อนยอดฮิตในเมืองไทย ได้นำความพิเศษของ 3 สายพันธุ์มาทั้งเฉาก๊วยเวียดนามที่มีความหวานที่สุด เฉาก๊วยอินโดนีเซียที่มีความเหนียวนุ่มไม่เหมือนใคร และเฉาก๊วยของจีนที่ให้ความกลมกล่อม ต้นเฉาก๊วยที่ใช้ก็ต้องนำเข้าเพราะไม่สามารถปลูกในเมืองไทยได้ โดยนำต้นที่ตากแห้งมาต้มประมาณ 1-2 ชั่วโมง ให้ยางเฉาก๊วยออกมา แล้วกรองเศษเปลือกออก จากนั้นนำมาเคี่ยวอีก 3 ชั่วโมง แล้วกรองอีกครั้งก่อนผสมน้ำเชื่อมกวนจนเข้ากันดี กรองอีกครั้งก่อนกวนเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเทใส่ถาดพักไว้จนแข็งตัว นำไปตัดและใส่บรรจุภัณฑ์ออกวางขาย ทำให้มีลูกค้าจากทั่วทุกสารทิศมานำไปทำเป็นของหวานขายต่ออีกทอดหนึ่ง หรือนำไปเพิ่มน้ำเชื่อม ใส่น้ำตาลทรายแดงกินเองก็อร่อยแล้ว เพราะเฉาก๊วยชากังราวการันตีรสชาตินุ่มเหนียวเคี้ยวเพลินและยังให้รสชาติที่หวานกลมกล่อมอีกด้วย ซึ่งเจ้าของคือ คุณสุขภูมิ จันทระ  ได้บอกว่าเฉาก๊วยชากังราวมีลักษณะที่แตกต่างจากเฉาก๊วยทั่วๆไป คือ มีความเหนียว และนุ่ม

สนับสนุนโดย ufabet888m.com