Friday, 5 April 2024

สาโท ที่ทุกคนรู้จัก..

11 Jan 2023
325

ปก สาโท ที่ทุกคนรู้จัก..

สาโท (Sato) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ผ่านการกลั่น เป็นสุราแช่ จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดไวน์ข้าว (Rice wine) มีรสออกหวาน หมักเช่นเดียวกับสาเก (Sake) แต่สาเกจะไม่หวาน สาโทผลิตโดยใช้ข้าวเหนียวนึ่ง นำมาล้างเมือก ข้าวออกให้หมด ปล่อยให้แห้งจากนั้นคลุกเคล้าด้วยหัวเชื้อแห้งที่เรียกว่าลูกแป้ง (Lookpang) ซึ่งหัวเชื้อมีส่วนผสมของเชื้อราและยีสต์ โดยเชื้อราทำหน้า ที่ผลิตอะไมเลสมาย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า saccharification ส่วนยีสต์ในลูกแป้งทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งให้เป็น เอทิลแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มนี้นิยมผลิตกันมากในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศจีนเรียกว่า chao-ching-yu ในประเทศญี่ปุ่นเรียก Japanese liqueur ส่วนในประเทศไทย เครื่องดื่มในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน โดยอาจมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันบ้าง เช่น กระแช่ (Krachae) เหล้าอากุน (Lao-argoon) น้ำขาว (Nam-khao) ส่วนคำ ที่นิยมและเป็นที่รู้จักดีในไทยปัจจุบันคือ สาโท

ลักษณะของสาโทมีทั้งใสและขุ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตและความต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามการที่จะได้สาโทชนิดใหม่ขึ้นมาสามารถพัฒนาได้โดยปรับเปลี่ยนกลิ่นและรส ชาติให้แตกต่างไปจากเดิม เช่นการเติมน้ำสกัดจากสมุนไพร หรือน้ำผลไม้บางชนิดในขั้นตอนของการหมักจะทำให้ได้สาโทที่มีกลิ่นตามชนิดของน้ำที่เติมลงไปซึ่งจะได้สาโทชนิดใหม่ ๆ อันเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่นิยมบริโภคสาโท

การดื่มสาโท

สาโทนั้นมีความแตกต่างจากไวน์ผลไม้ ตรงที่มีเศษข้าวและตะกอนเยอะ จนทำให้น้ำมีสีขาวขุ่น อีกทั้งด้วยการผ่านน้ำทำให้เกิดน้ำตาลมาก อาจจะทำให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์จนเป็นสาเหตุให้เกิดการเน่าบูดขณะอยู่ในขวด จึงจำเป็นต้องกรองให้ตะกอนต่าง ๆ หมดไป  โดยทั่วไปใช้วิธีบ่มไว้ให้นานเพื่อให้ตะกอนตกไปเอง สาโทสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยไม่ต้องใส่สารกันเสีย

เหล้าสาโทมีความเป็นมาควบคู่มากับบรรพบุรุษและประวัติศาสตร์ของไทย เป็นต้นตำรับสุรายอดข้าวสกุลไทยมาแต่เนิ่นนาน ตราบทุกวันนี้บางครัวเรือนยังคงทำเพื่อใช้สำหรับดื่มกันเอง แต่มีปัญหาเรื่องความสะอาดของผลิตภัณฑ์ทำให้อาจดื่มแล้วมีอาการท้องเสีย foromarbella จึงนำเสนอ ผู้ผลิตหลายรายเร่งทำเหล้าสาโทให้สะอาดมากขึ้นเพื่อป้องกันอาการท้องเสียซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ต่อยอดไปกว่านั้นคือการแต่งกลิ่นและรสชาติ ซึ่งมีทั้งรสสมุนไพรนานาชนิด รสชาดสาโทผลไม้ก็มี แต่ที่ถูกคอ ถูกใจผู้ดื่มมากที่สุดคือรสชาดดั้งเดิมของคนไทยนั่นเอง อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการหลายรายก็ยังไม่มีวิธีใดที่จะสามารถดึงกลุ่มผู้ดื่มหน้าใหม่ๆหันมาสนใจสาโทได้เนื่องจากเหล้าสาโทเอาเข้าจริงๆค่อนข้างดื่มยาก หลายคนไม่ชอบ ไม่คุ้นกลิ่น แถมดื่มมากๆแฮงค์ไม่รู้ตัว ที่ยากที่สุดคือการควบคุมผลผลิตให้มีมาตรฐานความสะอาด รสชาดและกลิ่นเท่าเทียมกันในทุกๆรอบการผลิต ดังนั้นสาโททำไม่ยาก แต่หากทำให้ดีมีมาตรฐานและรสชาติถูกอกถูกใจดื่มง่ายนั่นแหละยากที่สุดในการทำสาโท

สาโท

ประโยชน์จากการดื่มสาโท

สาโทเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักข้าวเหนียวนึ่งกับลูกแป้งที่มีเชื้อ ยีสต์และราในปริมาณที่เหมาะสมกับสมุนไพร เพื่อให้เกิดการแอลกอฮอล์และได้เครื่องดื่มรสชาติหวานหอม และมีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 10-15%

การดื่มสาโทนอกจากจะหอม หวาน อร่อยแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายจากสารสำคัญที่ได้จากการหมักสาโท นั่นคือ

1.เอทานอล (Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักสาโทมีประโยชน์ต่อร่างกายหากเราทานอย่างพอดี นั่นคือประมาณ 1 แก้วต่อวัน

โรคหลอดเลือดหัวใจ แอลกอฮอล์ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิด high-density lipoprotein (HDL) ซึ่งเป็นไขมันดีที่ทำหน้ากำจัดคอเลสเตอรอล หรือไขมันชนิดไม่ดีที่เกาะหลอดเลือด และเป็นการช่วยลดระดับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

ลดการเกิดลิ่มเลือด เนื่องจากแอลกอฮอล์ช่วยลดการแข็งตัวของเลือด จึงทำให้ลดความเสี่ยงจากการเกิดลิ่มเลือดอุดตันด้วย

ลดการอักเสบ เพราะแอลกอฮอล์จะไปลดระดับโปรตีนที่มีผลต่อการอักเสบของเซลล์ ทำให้การอักเสบเซลล์ร่างกายลดน้อยลง

เบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเล็กน้อยจะไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน แต่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงสาโทก็ต้องระวังน้ำตาลที่ใช้ปรุงแต่งรสชาติ ซึ่งมีผลอย่างมากต่อระดับน้ำตาลในเลือด

2.กรดอินทรีย์ (Organic acid) เช่น Citric acid, Lactic acid ที่ได้จากการหมักข้าว จะให้รสชาติสาโทเฉพาะตัวและช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น จึงเป็นการช่วยให้เราได้รับสารอาหารที่ทานครบถ้วนมากขึ้น

3.Lactic acid bacteria ที่เป็นแบคทีเรียในลูกแป้งมีสมบัติเป็น Probiotic หรือเป็นแบคทีเรียที่ดีต่อการทำงานของลำไส้ ช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดโรคในลำไส้ใหญ่ ช่วยป้องกันอาการท้องเสียและช่วยให้เราดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น

สนับสนุนโดย ufabet72s.com