Sunday, 7 April 2024

ประวัติศาสตร์ อาหารจานด่วนของไทย (ข้าวแกง)             

07 Apr 2023
222

ปก ประวัติศาสตร์ อาหารจานด่วนของไทย (ข้าวแกง)    

เมื่อพูดถึงอาหารจานด่วนของไทย เชื่อแน่ว่าคนไทยทุกคนย่อมนึกถึงอาหารร้านข้าวแกง ซึ่งรับประทานกันอย่างแพร่หลายเป็นอย่างแรกๆ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า วัฒนธรรมการบริโภคข้าวแกงนั้นเริ่มต้นมีมาตั้งแต่เมื่อไร และหากนึกถึงอาหารในฐานะ ‘แหล่งบันทึกแห่งความทรงจำ’ ดังที่ ปิแอร์ โนรา นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เรียกว่า ‘lieux de memmoire’ แล้วละก็ ข้าวแกงได้บันทึกความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของไทยเอาไว้ว่าอย่างไรบ้าง วันนี้ foromarbella จะพาทุกคนมาหาคำตอบ

ข้าวแกง’ หรือ ‘ข้าวราดแกง’ มีพื้นฐานมากจากวัฒนธรรมในการรับประทานอาหารแบบสำรับของคนไทยสมัยก่อน จากชื่อที่ใช้เรียกพอจะอนุมานได้ว่าเน้นที่อาหารประเภทแกงและข้าวเป็นสำคัญ ในยุคที่ชาวไทยส่วนใหญ่ยังรับประทานอาหารกันในครัวเรือน มักกินกันแบบเป็นสำรับ ต่อมาเมื่อวิถีชีวิตของคนไทยเริ่มเปลี่ยน หันมารับประทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น จึงได้ย่นย่ออาหารสำรับ ตักแกงและกับราดข้าว เพื่อความสะดวกในการรับประทาน

ร้านข้าวราดแกง

ร้านข้าวแกงมีมาตั้งแต่เมื่อไร ?

วิถีชีวิตคนไทยทั่วไปสมัยก่อนไม่นิยมกินข้าวนอกบ้าน เพราะตั้งแต่สมัยโบราณก็ทำงานกันภายในบ้าน หรือเมื่อออกไปเรือกสวนไร่นาก็เตรียมอาหารพกใส่ห่อไป หรือมีคนในครอบครัวนำไปส่ง คนที่กินข้าวนอกบ้านสมัยก่อนจึงมีแค่คนที่ต้องทำงานนอกบ้านอย่างข้าราชการหรือคนเดินทาง

ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าร้านข้าวแกงเริ่มมีขึ้นมาตั้งแต่สมัยใด บ้างก็ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยตั้งขายอยู่ในตลาดรอบเวียง เพื่อให้คนเดินทางและพ่อค้าเร่ได้ซื้อกิน ทว่ามีหลักฐานในรูปแบบจดหมายเหตุระบุชัดเจนว่า ในสมัยอยุธยามี ‘ร้านชำหุงข้าวแกงขายคนราชการ’ ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะบริเวณใกล้พระราชวังเท่านั้น ไม่ได้ตั้งอยู่ทั่วไป เพราะข้าราชการที่ออกจากบ้านมาทำงานหลวงจะกลับบ้านไปกินก็คงจะไกลเกินไม่สะดวกนัก

ส.พลายน้อย เขียนบันทึกไว้ใน ‘ข้าวแกง’ หนังสือ ‘กระยานิยาย’ ว่า ร้านข้าวแกงน่าจะมีมากขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 เนื่องจากมีนักเขียนเล่าเอาไว้ในหนังสือพิมพ์ยุคนั้นว่า

“บางคนขายข้าวแกงจนร่ำรวย เช่น ตาเพ็งขายข้าวแกงจนมีเงินสร้างวัดไว้ที่บ้านบ่อโพง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกว่าวัดราษฎร์บำเพ็ง ตามเรื่องว่าในครั้งนั้นมีแต่ตาเพ็งกับแม่พุกสองคนเท่านั้นที่ตั้งร้านขายข้าวอยู่ที่สี่แยกบ้านหม้อ เป็นร้านข้าวแกงชื่อดังของบ้านหม้อทีเดียว”

ข้าวราดแกง

การขายข้าวแกงในสมัยนั้นไม่ได้ใช้วิธีเอาแกงราดข้าว แต่จัดเป็นสำรับ ใส่จานชามตั้งบนโต๊ะไม้ คือโต๊ะลาวทาชาดสีแดงๆ และบ้างก็เป็นโต๊ะทองเหลือง หรือที่เรียกกันว่าโตก เป็นพานขนาดใหญ่ โดยราคาอาหารในสมัยนั้นคิดเหมาเป็นสำรับ สำรับอาหารคาวโต๊ะไม้ราคา 1 สลึง สำรับหวานราคาเท่ากับสำรับคาว อาหารสำรับหนึ่งกินได้ 2-3 คนพออิ่ม แต่ถ้าเป็นสำรับโต๊ะทองเหลืองราคาจะสูงขึ้นเป็นสำรับละ 2 สลึง และมีกับข้าวมากสิ่งกว่าสำรับโต๊ะไม้ ใครที่กินสำรับทองจึงบอกฐานะและดูโก้หรูในสมัยนั้น เพราะเป็นคนมีอันจะกิน ไม่ใช่คนหาเช้ากินค่ำ ซึ่งทางร้านจะจัดให้นั่งบนพรหมเจียม พร้อมมีกระโถนและขันน้ำทองเหลืองมาให้ ในขณะที่คนที่สั่งสำรับโต๊ะไม้จะต้องนั่งบนเสื่อกระจูด ส่วนกระโถนและขันน้ำที่มีให้ก็เป็นชนิดที่ทำด้วยดินเผาราคาถูก

อย่างไรก็ตาม วิถีที่ต้องเดินทางออกไปทำงานใช้ชีวิตนอกบ้าน เวลาเริ่มและเลิกงาน ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อการกินอาหารของคนในสมัยนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมีเวลาหุงหาเตรียมอาหารน้อยลง โดยเฉพาะมื้อเช้าที่มีเวลากระชั้นชิด และมื้อกลางวันที่ยังคงอยู่นอกบ้าน อาหารจานด่วนอย่างข้าวแกงจึงเข้ามาตอบโจทย์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้จึงสามารถพูดได้ว่า ข้าวแกงได้เข้ามาทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนวิถีการกินในสังคมไทยจากในครัวเรือนมาสู่พื้นที่

สนับสนุนโดย ufa747.cc