Thursday, 4 April 2024

ขนมไทย หากินยาก

04 Feb 2023
256

ปก ขนมไทย หากินยาก

ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ

อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า “ขนม” อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า “หนม” ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “ขนม” เพี้ยนมาจาก “ขนม” ในภาษาเขมรก็เป็นได้

ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง “ย่านป่าขนม” หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง “บ้านหม้อ” ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง

และขนมไทย ที่หาทานยากจะมีอะไรบ้าง วันนี้ foromarbella จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับขนมที่หาทานยากมากๆ กัน

ขนมพระพาย

1.ขนมพระพาย

ขนมพระพาย ขนมสีสันสวยงาม ที่สอดไส้ถั่วเขียวกวนหอม ๆ ห่อด้วยแป้งข้าวเหนียว ผสมแป้งข้าวเจ้าหากสี อย่างสีธรรมชาติของดอกอัญชัน ดอกกระเจี๊ยบ และสีของใบเตย ราดหน้าขนมด้วยกะทิ ขนมไทยโบราณที่หาทานยากในสมัยนี้ เวลารับประทานจะมีความเหนียวนุ่มของแป้ง และมีกลิ่นหอมของกะทิ และหอมถั่วเขียวกวน เป็นขนมที่นิยมนำมาใช้ในงานแต่ง ถือเป็นขนมมงคลอย่างหนึ่งของไทย

– แช่ถั่วเขียวในน้ำร้อน หรือแช่ค้างคืนทำให้ถั่วเขียวนิ่มขึ้น

ถั่วเขียวเป็นหนึ่งในส่วนผสมหลักของไส้ถั่วกวนขนมพระพาย ดังนั้นแล้วแนะนำว่าให้นำถั่วเขียวแบบเลาะเปลือกแล้วแช่ในน้ำร้อนประมาณ 2-3 ชั่วโมง จนกว่าจะรู้สึกว่าถั่วเขียวนิ่มขึ้น หรือแช่ในน้ำเปล่าอุณหภูมิห้องทิ้งไว้ 1 คืนก่อนที่จะนำไปนึ่ง

– แป้งตรงกลางต้องหนากว่าขอบแป้ง เพื่อให้ได้ขนมทรงกลมสวย

ขั้นตอนการนำตัวแป้ง และไส้ถั่วกวนมาปั้นประกอบกัน ให้แผ่แป้งออกโดยให้แป้งบริเวณตรงกลางแป้งจะต้องมีความหนามากกว่าขอบแป้ง เพื่อให้ตัวแป้งสามารถอุ้มตัวไส้ไว้ได้อย่างดีและจะทำให้ปั้นได้ก้อนกลมสวย

อินทนิล

2.ขนมอินทนิล

ขนมอินทนิลเป็นขนมชาววังที่ทำจากแป้งผสมกับความหอมที่ได้จากน้ำใบเตย และนำไปกวนจนเหนียว และปั้นเป็นก้อน พร้อมกับนำมาทานคู่กับน้ำกะทิที่เพิ่มความหอมจากการอบควันเทียน ก่อนจะตบท้ายด้วยน้ำแข็งที่ช่วยเพิ่มความอร่อยให้เย็นสดชื่น เมื่อทานจะให้รสชาติเหนียวนุ่ม หวานตัดเค็มแบบลงตัว และความหอมจากใบเตยกับกะทิอบควันเทียนนปัจจุบันอาจจะหาทานได้ยากสักหน่อย แต่รับรองว่าเป็นอีกหนึ่งขนมชาววังที่ห้ามพลาดเพราะมีรสชาติละมุนกลมกล่อมให้ความสดชื่นแน่นอน

สูตรลับ กลิ่นหอมมะลิอบควันเทียน ช่วยเพิ่มความอร่อย ในขั้นตอนการทำน้ำกะทิ นอกจากน้ำลอยดอกมะลิ และใบเตยจะช่วยเพิ่มกลิ่นหอมแล้ว ให้นำกะทิมาอบควันเทียน โดยอบควันเทียนประมาณ 3-4 รอบ รอบละประมาณ 20 นาที หรือหากใครอยากให้กะทิหอมฟุ้งอบอวลมากยิ่งขึ้นก็สามารถอบเพิ่มได้อีก เพราะจะยิ่งช่วยทำให้ขนมของเราน่าทานมากยิ่งขึ้นด้วย

ขนมหม้อตาล

3.ขนมหม้อตาล

เชื่อว่าขนมหม้อตาลเป็นอีกหนึ่งขนมชาววังที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นชื่อ เพราะในสมัยนี้หาทานได้ยากมาก เพราะด้วยวิธีการทำที่มีขั้นตอนเยอะ สลับซับซ้อนจึงหาคนทำได้ยาก และในสมัยก่อนขนมหม้อตาลนิยมใช้ในพิธีงานแต่งจึงมีอีกชื่อเรียกว่าขนมหม้อเงิน หม้อทอง ด้วยลักษณะของขนมหม้อตาลที่คล้ายกับหม้อดินเผาขนาดเล็ก ด้านในจะมีสีสันต่างๆ ที่ได้จากน้ำตาลเคี่ยว โดยรสชาติของขนมหม้อตาลจะมีความกรอบตัดกับความหวานกำลังดี เรียกได้ว่าเป็นขนมชาววังหายากที่น่ารับประทานมาก

สูตรลับในการทำขนมหม้อตาลให้อร่อย

– แป้งต้องไม่แห้งเกินไป

เมื่อผสมแป้งสำหรับใช้ทำตัวหม้อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นวดไปเรื่อยๆ จนเนื้อส่วนผสมเข้ากันดี แต่หากรู้สึกว่าเนื้อตัวแป้งแห้ง และร่วนเกินไป ให้เติมน้ำผสมลงไปในแป้ง และนวดจนเนื้อแป้งเข้าที่ดี

– อบควันเทียนเพิ่มความหอมน่าทาน

นำตัวหม้อของของขนมหม้อตาลที่สุกแล้ว ไปอบควันเทียนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง หรือหากมีเวลามากพอให้อบควันเทียนทิ้งไว้หนึ่งคืน เพราะจะทำให้ตัวแป้งมีกลิ่นหอมมากก่อนที่จะนำไปหยอดน้ำตาล

สนับสนุนโดย jilislot.win